BlackWarrior50k

Loving The Outdoors

รู้จักกับ กัญชา

การใช้กัญชาทางการแพทย์

เรื่องของสุขภาพร่างกายของคนเรานั้น นอกจากเราแล้ว ก็ไม่มีใครดูแลเราได้ดีกว่าตัวเองอย่างแน่นอนครับ ยิ่งในปัจจุบันนั้นประเทศไทยมีการปรับให้ “กัญชา” สามารถซื้อขายได้อย่างเสรี ก็ย่อมทำให้เกิดการทำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายเลยหล่ะครับ วันนี้เราจึงอยากาพาทุกๆ ท่านไปรู้จักกับ “กัญชา” ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจได้เก็บไปพิจารณาและเป็นความรู้ติดตัวกันไปครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

กัญชา

กัญชา หรือ ต้นกัญชา เป็นพืชที่ให้สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ในทางเภสัชวิทยา องค์ประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลักของกัญชา คือ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ซึ่งเป็นสารประกอบหนึ่งจาก 483 ชนิดที่ทราบว่าพบในต้นกัญชา ซึ่งสารอื่นที่พบมีแคนนาบินอยด์อีกอย่างน้อย 84 ชนิด เช่น แคนนาบิไดออล (CBD) แคนนาบินอล (CBN) เตตระไฮโดรแคนนาบิวาริน (THCV)[3][4] และ แคนนาบิเจอรอล (CBG) ซึ่งมนุษย์มักบริโภคกัญชาเพื่อผลที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและสรีรวิทยาของมัน ซึ่งรวมถึงภาวะเคลิ้มสุข ความผ่อนคลาย[5] และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น[6] ผลข้างเคียงไม่พึงปรารถนาบางครั้งรวมถึงความจำระยะสั้นลดลง ปากแห้ง ทักษะการเคลื่อนไหวบกพร่อง ตาแดง[5] และรู้สึกหวาดระแวงหรือวิตกกังวล

สารประกอบในกัญชา

●สาร CBD (Cannabidiol) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ ซึ่งสามารถช่วยในเรื่องของ ลดความวิตกกังวล ผ่อนคลาย, ลดอาการปวด, ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นโดยไม่มีผลต่อจิตประสาทและไม่ก่อให้เกิดการเสพติด

●สาร THC (Tetrahydrocannabinol) หรือ “สารเมา” เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยสารนี้จะออกมาพร้อมกับสาร CBD ตอนสกัดกัญชา หากร่างกายได้รับสาร THC มากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย อันได้แก่ เรื่องของความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ใจสั่น สติแปรปรวนก่อให้เกิดประสาทหลอน เกิดภาพหลอน หูแว่ว หวาดระแวง แพนิคความจำระยะสั้นแย่ลง สมองทำงานแย่ลงโดยกะทันหันและมีผลอย่างมากต่อระบบสมอง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี โดยมีผลทั้งด้านความจำ และปริมาณเนื้อสมองที่จะลดลงถึง 10%

ประโยชน์ของการใช้กัญชาทางการแพทย์

ในทางการแพทย์จะใช้สารในกัญชาจะนิยมใช้ช่อดอก เนื่องจากมีสารสำคัญที่สามารถนำมาสกัดอยู่ในปริมาณมากกว่าส่วนอื่นๆโดยเลือกเก็บและสกัดสารสำคัญจากดอกกัญชาตัวเมียที่ไม่ถูกผสม เมื่อออกดอกเติบโตจะมีไตรโคม (Trichomes) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของต้นกัญชาที่สะสมสารสำคัญของกัญชาประกอบด้วย THC, CBD และสารอื่นๆ อีกกว่า 400 ชนิด รวมไปถึงการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง จากสายพันธุ์ลูกผสมที่มีสารทีเอชซี (THC) และสารซีบีดี (CBD) เด่น และได้มาตรฐานทางการแพทย์ที่นานาชาติให้การการยอมรับ จะใช้กรรมวิธีการสกัดให้ได้ปริมาณสารสำคัญเป็นไปตามที่ต้องการและสม่ำเสมอ , ปราศจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม

ข้อห้ามเกี่ยวกับการบริโภคหรือใช้กัญชาที่ควรรู้

แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะประกาศให้ใช้ส่วนใบของกัญชาประกอบอาหารได้ แต่ต้องบริโภคในปริมาณที่พอดี ไม่มากจนเกินไป โดยสามารถปฏิบัติตาม ซึ่งได้แก่…ไม่ควรทานเกิน 5-8 ใบต่อวัน, ไม่ควรทานใบกัญชาแก่ (เนื่องจากมี THC สูงกว่าใบอ่อน), หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยความร้อนมากๆ เพราะจะทำเพิ่มค่า THC มากยิ่งขึ้น, ไม่ควรทานกัญชา พร้อมกับอาหารไขมัน เนื่องจากจะเพิ่มการดูดซึม สุดท้ายไม่ควรทานเมนูกัญชาปริมาณมากๆ ในครั้งเดียว และควรระวังเรื่องการขับขี่ยานพาหนะเพราจะก่อให้เกิดภาพหลอนและเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ได้นั้นเองครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “กัญชา” ที่พวกเราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างนี้ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่น่าสนใจกันนะครับ